วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วัฒนธรรมในการพูด

วัฒนธรรมในการพูด




1. การทักทาย



      คนเกาหลีทำ : การกล่าวคำทักทายและคำขอบคุณนั้น คนเกาหลีจะต้องก้มศีรษะคำนับเสมอ ส่วนการโค้งต่ำระดับไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับความอาวุโสของอีกฝ่ายนั่นเอง

   คนเกาหลีไม่ทำ : การกล่าวทักทายด้วยการโอบกอดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้สนิทสนมกันพอสมควร นอกเสียจากเป็นการกอดเพื่อการล่ำลา

  สำหรับในเรื่องของการทักทายของคนเกาหลีก็จะมีวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันกับคนไทยอยู่มาก จะแตกต่างกันตรงที่คนเกาหลีจะก้มศีรษะ แต่บ้านเราจะเป็นการไหว้ แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การทักทายด้วยการกอดหรือการจับมือ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างบุคคล แต่ถ้าพบกับผู้ใหญ่ก็ยังคงวัฒนธรรมการทำความเคารพไว้เสมอ
            คนเกาหลีจะให้ความสำคัญ(เคร่ง)กับมารยาทการพูด การปฏิบัติต่อผู้ที่มีอายุมากกว่า อย่างมาก

 2. การเรียกผู้อื่น



        คนเกาหลีทำ : การเรียกคนที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักชื่อ จะใช้คำพูดที่เป็นการเกริ่นนำขึ้นมาก่อนไม่ได้มีคำเรียกบุคคลนั้นตายตัว เช่น ขอโทษนะคะ,ไม่ทราบว่า แต่บอาจจะใช้คำสรรพนามที่สามารถ ใช้เรียกได้เลย เช่น 아저씨 (อาจอชี) ซึ่งแปลว่า คุณลุง หรือ 아줌마 (อาจุมม่า) ซึ่งแปลว่า คุณป้า การเรียกคนที่มีอายุมากกว่า จะไม่เรียกชื่อเขา แต่จะใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับเขาคนนั้น แต่ถ้าเรียกคนที่มีอายุน้อยกว่า หรือเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน สามารถเรียกชื่อได้ หรืออาจใช้สรรพนามแทนก็ได้เช่นกัน

การเรียกผู้อาวุโสอาจเติมคำว่า 님 (นิม : เป็นคำต่อท้ายที่แสดงถึงความเคารพหรือหมายถึงการให้เกียรติ หรือผู้ที่น่ายกย่อง) ต่อท้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น เช่น ครู,อาจารย์ (선생님 อ่านว่า ซอนแซงนิม) หรือเติมคำว่า “คุณ” (씨 อ่านว่า ชี) ต่อท้ายชื่อเต็มของเพื่อนร่วมงาน เพื่อความสุภาพมากขึ้น เช่น คุณฮานึล (하늘씨 อ่านว่า ฮานึลชี)

*เรามักจะได้ยินศิลปินจากค่าย SM Entertainment กล่าวขอบคุณประธานของค่ายอย่างคุณอีซูมานอยู่บ่อยๆและพวกเขาจะเรียกว่า “อีซูมานซอนแซงนิม” ซึ่งเป็นการเรียกที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ*

   คนเกาหลีไม่ทำ : จะไม่เรียกคนที่ไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักชื่อว่า 너 (นอ) ซึ่งแปลว่า คุณหรือเธอ เพราะเป็นคำที่ใช้เรียกกันเฉพาะเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้น

  ข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับคน เกาหลีอีกอย่างคือการเรียกชื่อ บ้านเราไม่ว่าจะสนิทกันมากหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถเรียกชื่อเล่นได้ ในขณะที่คนเกาหลีจะต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันหรือได้รับ การอนุญาติจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะสามารถเรียกชื่อเล่นกันได้

3.การพูดคุย
ในประเทศเกาหลี จะมีภาษาพูดที่มีระดับความสุภาพต่างกัน ซึ่งจะต้องใช้ให้ถูก ไม่พูดเป็นกันเองกับผู้ที่มีอายุมากกว่า โดยที่ไม่สนิทกัน และมีการพูดแบบเป็นทางการ
ตัวอย่าง การพูดในระดับต่างๆ
                    감사합니다. คม-ซา-ฮัม-นี-ดา ขอบคุณค่ะ (ผู้ที่อายุเยอะกว่า)
                    고맙습니다 โก-มับ-ซึม-นี-ดา ขอบคุณค่ะ (คนรู้จัก )
                    고마워요/고마워  โก-มา-วอ-โย/โก-มา-วอ ขอบใจ (เพื่อน คนสนิท)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น